การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ
อิมจู ยองฮี |
การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ก็มีวิธีจัดการเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงต่าง ๆ ได้ ซึ่งจะมีตั้งแต่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและดูแลรักษาควบคุมโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยงให้ดี, การรักษาด้วยการใช้ยา และการรักษาด้วยการผ่าตัดและกระบวนการทางการแพทย์ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและดุลยพินิจของแพทย์ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เป็นปัจจัยเสี่ยง เช่น การงดสูบบุหรี่, การควบคุมอาหาร (หลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูปและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีไขมันต่ำหรือน้ำตาลน้อยเพื่อควบคุมระดับน้ำตาล ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคเบาหวาน), การกำจัดความเครียด, การออกกำลังกายตามควรกับสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ (ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายของตนเอง) รวมถึงการดูแลรักษาควบคุมโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยงให้ดี การรักษาด้วยการใช้ยา หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เป็นปัจจัยเสี่ยงแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ผู้ป่วยอาจต้องรับการรักษาด้วยการใช้ยาต่าง ๆ เพื่อช่วลดความดันโลหิต ป้องกันการเกิดลิ่มเลือด หรือขยายหลอดเลือดเพื่อให้การไหลดเวียนและการสูบฉีดเลือดในหัวใจดีขึ้น เช่น กลุ่มยาคอเลสเตอรอล (Cholesterol-modifying medication) เช่น สแตติน (Statin), ไนอะซิน (Niacin) ไฟเบรต (Fibrate), ไบล์แอซิดซีเควสแตรนต์ (Bile acid sequestrants) ซึ่งเป็นยาที่ช่วยลดปริมาณของคอเลสเตอรอลในกระแสเลือด โดยเฉพาะในส่วนของไขมันเลว (LDL) ซึ่งมักจับตัวสะสมอยู่ในหลอดเลือดหัวใจ ยาขยายหลอดเลือด (Vasodilators/Nitrate) เช่น ไนโตรกลีเซอริน (Nitroglycerin), ไอโซซอร์ไบด์ (Isosorbide) ที่มีทั้งในรูปแบบเม็ด สเปรย์ หรือแผ่นสำหรับติดบริเวณผิวหนัง ซึ่งเป็นยาที่ช่วยลดความดันโลหิตและอาการปวดบริเวณหัวใจได้ แต่อาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะและมึนงง ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulants) เป็นยาที่ทำให้เลือดแข็งตัวช้ากว่าปกติ มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการเกิดก้อนเลือดหรือลิ่มเลือด ที่อาจทำให้เกิดการอุดตันในระบบไหลเวียนของเลือดในร่างกาย โดยยาต้านการแข็งตัวของเลือดที่ใช้กันมาก ได้แก่ วาร์ฟาริน (Warfarin) ยาต้านเกล็ดเลือด (Antiplatelet drugs) เช่น โคลพิโดเกรล (Clopidogrel), ทิก้ากรีลอ (Ticagrelor), พราซูเกรล (Prasugrel) และแพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานยาแอสไพริน (Aspirin) ทุกวันเพื่อช่วยลดโอกาสการเกิดลิ่มเลือด ซึ่งเป็นปัญหาในการปิดกั้นหลอดเลือดหัวใจและช่วยป้องกันภาวะหัวใจวายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต (ผู้ป่วยไม่ควรใช้ยาต้านเกล็ดเลือดในขณะมีอาการหรือความผิดปกติเกี่ยวกับโลหิต ก่อนใช้ยานี้ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ) ยากลุ่มเบต้าบล็อคเกอร์ (Beta-blocker) เช่น อะทีโนลอล (Atenolol), ไบโซโปรลอล (Bisoprolol), เมโทโพรลอล (Metoprolol), เนบิโวลอล (Nebivolol) ซึ่งเป็นยาที่ใช้สำหรับรักษาความดันโลหิตสูงและป้องกันอาการเจ็บหน้าอก โดยการปิดกั้นฮอร์โมนในร่างกาย ซึ่งช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิต ฟื้นฟูการไหลเวียนของเลือด และช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจวาย ยากลุ่มเอซีอีอินฮิบิเตอร์ (ACE inhibitor) เช่น รามิพริล (Ramipril), ลิซิโนพริล (Lisinopril) เป็นยาที่ใช้รักษาอาการความดันโลหิตสูง ช่วยฟื้นฟูการไหลเวียนของเลือด และระงับเอมไซม์ที่ช่วยในการเปลี่ยนฮอร์โมน Angiotensin II ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูงและส่งผลให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ในภายหลัง แต่ยากลุ่มนี้มักมีผลข้างเคียงคือ อาการไอแห้งและมึนงง ยากลุ่ม Angiotensin II receptor blockers (ARBs) สนับสนุนบทความโดย allforbet เว็บ คาสิโนออนไลน์ ที่ดีที่สุด ยากลุ่มนี้จะคล้ายคลึงกับ ACE inhibitor แต่จะออกฤทธิ์โดยการปิดกั้นฮอร์โมน Angiotensin II โดยตรง แต่อาจส่งผลให้เกิดอาการมึนงงเล็กน้อย และมีผลข้างเคียงคืออาการไอ แต่น้อยกว่ายากลุ่ม ACE ยาปิดกั้นแคลเซียม หรือแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ (Calcium channel blocker) เช่น แอมโลดิปีน (Amlodipine), ดิลไทอะเซม (Diltiazem), เวอราปามิล (Verapamil) เป็นยาที่ใช้ลดความดันโลหิตโดยการสร้างความผ่อนคลายให้กับกล้ามเนื้อของผนังหลอดเลือด จึงทำให้หลอดเลือดกว้างขึ้น แต่อาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ยาขับปัสสาวะ (Diuretics) เป็นยาที่ใช้สำหรับขับน้ำและเกลือส่วนเกินออกจากร่างกายผ่านทางปัสสาวะ การรักษาด้วยการผ่าตัดและกระบวนการทางการแพทย์ เช่น การทำบอลลูนหัวใจ (Percutaneous coronary intervention, Percutaneous transluminal coronary angioplasty, Coronary angioplasty หรือ Balloon angioplasty) เป็นกระบวนการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอกหรือใช้ในการรักษาอาการฉุกเฉิน ผู้ป่วยจะต้องได้รับการสวนหลอดเลือดหัวใจก่อนทำการรักษาเพื่อประเมินถึงความจำเป็นในการผ่าตัด การรักษาประเภทนี้มักเกิดขึ้นในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจวายฉุกเฉิน ซึ่งแพทย์จะทำการใส่สายสวนซึ่งมีบอลลูนที่ยังแฟบติดอยู่ตรงปลายเข้าไปยังหลอดเลือดบริเวณที่ตีบหรืออุดตัน เมื่อสายสวนเข้าไปถึงจุดเป้าหมาย แพทย์จะทำให้บอลลูนพองตัวไปดันไขมันที่อุดตันอยู่ให้ไปชิดกับผนังหลอดเลือด เปิดทางให้หลอดเลือดขยายออก โดยมากแพทย์จะใส่ขดลวดตาข่าย (Stent) คาไว้ในจุดนั้นอย่างถาวรเพื่อช่วยลดโอกาสที่หลอดเลือดจะตีบตันใหม่ การทำบายพาสหัวใจ หรือการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery bypass surgery) มักใช้กับภาวะหลอดเลือดตีบหรืออุดตันที่ไม่สามารถรักษาได้หรือการทำบอลลูนไม่สามารถช่วยรักษาได้ แต่ผู้ป่วยจะต้องได้รับการสวนหลอดเลือดหัวใจก่อนเพื่อประเมินถึงความจำเป็นในการรักษา การทำบายพาสหัวใจโดยไม่ใช้ปอดและหัวใจเทียม (Off-pump coronary artery bypass) เป็นวิธีการรักษาที่นิยม โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้หัวใจสูบฉีดเลือดเองโดยไม่ต้องใช้ปอดหรือหัวใจเทียม ซึ่งศัลยแพทย์จะทำการต่อเส้นเลือดใหม่ข้ามผ่านจุดที่มีการอุดตันอยู่เดิม จึงทำให้กระแสเลือดไหลเวียนได้ตามปกติ การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ (Heart transplant) เป็นการรักษาที่ใช้สำหรับกรณีรุนแรงและไม่สามารถรักษาได้ด้วยยา หรือหัวใจไม่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หลังการผ่าตัดผู้ป่วยจะต้องเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจสอบการทำงานของหัวใจและภาวะแทรกซ้อน สำหรับแนวทางในการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจนั้น โดยทั่วไปจะเริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ แล้วจึงค่อยตามด้วยการให้ยาขยายหลอดเลือดเพื่อป้องกันและบรรเทาอาการเจ็บหน้าอก ให้ยาต้านเกล็ดเลือด (เช่น แอสไพริน) เพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดกั้นหลอดเลือดหัวใจ ให้ยาควบคุมโรคประจำตัว (เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง) เป็นต้น หากการใช้ยาไม่ได้ผลหรือผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอกบ่อย และแพทย์ตรวจพบว่ามีการอุดกั้นของหลอดเลือดหัวใจอย่างรุนแรงหรือหลายแห่ง ก็จะทำการแก้ไขโดยการขยายหลอดเลือดด้วยการทำบอลลูนหัวใจและใส่หลอดเลือดตาข่ายคาไว้ในหลอดเลือดบริเวณที่ตีบตันนั้น ส่วนในรายที่เป็นรุนแรงหรือการใช้ยาและทำบอลลูนหัวใจยังไม่ได้ผล แพทย์จะทำการผ่าตัดทำทางเบี่ยงของหลอดเลือดหัวใจ (บายพาสหัวใจ) โดยการนำหลอดเลือดดำที่ส่วนอื่น เช่น หลอดเลือดดำขา ไปเชื่อมต่อระหว่างหลอดเลือดหัวใจ (ข้ามส่วนที่ตีบตัน) เข้ากับหลอดเลือดแดงใหญ่ ส่วนในผู้ป่วยที่เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน แพทย์จะรับตัวผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล พิจารณาฉีดยาละลายลิ่มเลือดเข้าทางหลอดเลือดดำ ซึ่งจะได้ผลดีเมื่อให้ภายใน 6 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ หรือไม่ก็อาจทำบอลลูนหัวใจหรือทำบายพาสหัวใจแบบฉุกเฉิน และให้การดูแลรักษาจนกว่าผู้ป่วยจะปลอดภัย ซึ่งผู้ป่วยอาจต้องพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลประมาณ 5-7 วัน เมื่ออาการทุเลาลงแล้วแพทย์ก็จะให้ผู้ป่วยเริ่มทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูสภาพหัวใจให้แข็งแรง หลีกเลี่ยงการทำงานหนัก และงดการร่วมเพศประมาณ 4-5 สัปดาห์ ซึ่งผู้ป่วยจะสามารถกลับไปทำงานได้หลังมีอาการ 8-12 สัปดาห์ แต่ห้ามทำงานที่ต้องใช้แรงมาก แพทย์จะนัดผู้ป่วยมาติดตามการรักษาเป็นประจำทุก 1-3 เดือน เพื่อตรวจร่างกายและปรับการใช้ยาให้เหมาะสมกับสภาพปัญหาของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง Link: คลิ๊กที่นี่ |
